fbpx

LINE แสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาจากแพลตฟอร์มการแชท สู่การเป็นผู้ช่วยให้การใช้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ตามวิสัยทัศน์ ‘Life On LINE’ ด้วยการผสมผสานระหว่าง OMO, Fintech และ Al เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภค

อึนจอง ลี รองประธานกรรมการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจระดับโลก LINE Plus คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงภาพรวมของ LINE ประเทศไทยที่ ว่าเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่คนไทยนึกถึง และใช้งานในชีวิตประจำวันโดยจากสถิติพบว่า คนไทยใช้งาน LINE สูงถึง 26 วันต่อเดือน และมีอัตราการเปิดใช้งานสูงถึง 93%

ในส่วนของจำนวนผู้ใช้งาน LINE ในประเทศไทยประมาณ 44 ล้านคน หรือคิดเป็น 78% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศไทย สำหรับทิศทางของ LINE ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก คือ การเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการใช้ชีวิต ด้วยการเข้าไปซัพพอร์ตไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ในทุกวันและทุกช่วงเวลา ตามวิสัยทัศน์ ‘Life On LINE’ ที่จะเริ่มเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับทุกคน คือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวก ตั้งแต่ตื่นนอนสามารถเปิดอ่าน LINE TODAY เดินทางก็สามารถใช้ Rabbit LINE Pay ชำระค่าโดยสาร ไปถึงการจองร้านอาหารที่สามารถใช้งาน LINE ได้ทันที ปีนี้ LINE มีการดั้งเป้าหมายขึ้นมาครอบคลุม 3 ส่วน คือ

1.การเชื่อมต่อธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน (OMO)

2.พัฒนาบริการสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินให้สะดวกขึ้น

3.นำ Al เข้ามาช่วยยกระดับการใช้งาน LINE ให้สอดคลองกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น

LINE นำเสนอบริการใหม่อย่าง Mini App ที่จะเข้าไปช่วยร้านค้าบริหารจัดการช่องทางการสื่อสารผ่าน LINE ให้สะดวกมากขึ้น และยังทำรายการส่งเสริมการขายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสมาชิก ให้ Reward รวมถึงการเพิ่มช่องทางการชำระเงิน ในส่วนของบริการเสริม Financial Service จับมือกับธนาคารกสิกรไทย ตั้ง KASIKORN LINE ขึ้นมาให้บริการทางการเงิน

จุดเด่นที่สำคัญของการเปลี่ยน LINE ให้กลายเป็นธนาคารบนสมาร์ทโฟน คือ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ต้องง่ายและสามารถเชื่อมต่อกับช่องทางอื่น ๆ ได้ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless) ที่ผ่านมา LINE ได้นำ AI เข้ามาใส่ในการให้บริการอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้ทั้งในบริการอย่าง LINE TV, LINE TODAY, Timeline, Sticker และการโฆษณา ที่นำพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้มาวิเคราะห์และนำเสนอเรื่องราวที่เจาะลงไปเป็นรายบุคคล เมื่อผู้ใช้งาน LINEทั้ง 44 ล้านคน เปิดหน้าจอ LINE TODAY ขึ้นมา ผู้ใช้แต่ละรายจะเห็นการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันไป ตามพฤติกรรมผู้ใช้ให้ความสนใจข่าวสารในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หน้าจอแสดงผลของแต่ละรายไม่เหมือนกัน

ส่วนการนำ AI มาใช้ในช่องทางใหม่ ๆ อย่างการนำเสนอ Smart Channel หรือช่องทางแจ้งเตือนข้อมูลบนหน้ารายชื่อหน้าต่างสนทนาของผู้ใช้ที่จะคัดเลือกแต่สิ่งที่ผู้ใช้สนใจมานำเสนอ เช่น พยากรณอากาศ ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล ทำให้ LNE มีความตั้งใจที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสนทนา แต่จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของทุก ๆ คนสะดวกสบายให้สมกับวิสัยทัศน์ ‘Life On LINE’

3 บริการใหม่ที่เปิดตัวในงาน LINE CONVERGE THAILAND 2019

LINE ประกาศเปิดตัว 3 บริการใหม่ ที่จะมาช่วยเติมเต็มให้การใช้ชีวิตของคนไทยในยุคดิจิทัลสะดวกขึ้นด้วยการเปิดตัวบริการ

  • LINE Shopping บริการเปรียบเทียบราคาสินบน E-commerce
  • LINE Man Grocery บริการซื้อสิ้นคำจาก supermarket
  • LINE Melody บริการเสียงรอสายและเสียงเรียกเข้าบน LINE Call

ดร.พิเชษฐฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์หลังจากรับตำแหน่ง CEO โดยเน้นย้ำในเรื่อง ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของผู้ใช้งาน LINE

ในโอกาสนี้ LINE ได้เปิดตัวบริการใหม่อย่าง LINE Shopping ที่เข้ามาแก้ปัญหาของ Shopping Online ด้วยการรวมแหล่ง Shopping Online และโปรโมชันต่าง ๆ บนร้านค้า E-commerce มาให้เปรียบเทียบราคาไปจนถึงสามารถตั้งให้มีการแจ้งเตือนเมื่อสินค้าลดราคาได้ถัดมาในส่วนของบริการ LINE MAN ปัจจุบัน LINE MAN ได้ให้บริการในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีมาก โดย LINE มีเป้าหมายที่จะขยาย การให้บริการของ LINE MAN ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ เช่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต ในปี 2020 พร้อมกับนำเทคโนโลยี Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอโปรโมชันและปรับปรุงบริการให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด

LINE MAN ได้จับมือกับ Wongnai มีร้านค้ากว่า 50,000 ร้าน และจับมือกับ Lalamove เพื่อให้ LINE MAN เป็นบริการที่เข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้นจึงได้มีการนำเสนอ LINE MAN Grocery มาช่วยตอบโจทย์บรรดาพ่อบ้านแม่ยุคใหม่ ที่สามารถซื้อของใช้หรือของกินเข้าบ้านได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไป supermarket

ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นช่วงครบรอบ 3 ปีที่ผ่านมา LINE ได้ทดลอง Moment Marketing ทำแคมเปญ ชานมไข่มุก ยอดสั่งชานมไข่มุกเติบโตทาง LINE MAN กระแสตอบรับเติบโตถึง 50 เท่า คิดเป็น 5,000%และแคมเปญ เอแคลร์ ที่ทำแคมเปญร่วมกับ After you  มีคนสั่ง 200,000 ชิ้น ขายภายใน 1 เดือน ผลลัพธ์จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคที่อยู่ในเมือง เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางฝ่ารถติด ออกมาเพื่อซื้อของใน Supermarket คุณสามารถสั่งสินค้าใน Super Market ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารกระป๋อง พบกับ LINE GROCERY ได้ภายในปีนี้

ขณะเดียวกัน LINE MAN ยังเดินหน้ารณรงค์ลดใช้ถุงหิ้วและช้อนส้อมพลาสติก โดยร่วมกับพันธมิตรอย่างเดอะมอลล์กรุ๊ป ร้านอาหารบ้านหญิง, คั่วกลิ้ง+ผักสด, BonChon Chicken, Burger King, Pizza Hut, Sizzler, Texas Chicken และ After You พร้อมเปิดกว้างที่จะรับพันธมิตรเพิ่มเติม

บริการเสียงเรียกเข้าและเสียงรอสาย LINE Melody ทำให้วัยรุ่นยุคใหม่ได้เข้าถึงบริการเสียงรอสายที่โด่งดังในช่วงยุค 90 LINE Melody จะมีให้บริการทั้งในส่วนของเสียงรอสาย และเปิดให้ผู้ใช้ตั้งเป็นเสียงเรียกเข้าได้ด้วย

” จากข้อมูลของ LINE พบว่ากว่า50%ของผู้ใช้มีการใช้งาน LINE Call บริการนี้จะมาช่วยสร้างสีสันให้การใช้งาน LINE Call สนุกมากขึ้น เมื่อเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกเสียงเพลงที่บ่งบอกความเป็นตัวเอง ”

 

อัปเดต LINE Point x Rabbit LINE Pay และความคืบหน้า KASIKORN LINE

LINE เตรียมผสานบริการ LINE Point เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Rabbit LINE Pay เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถรับคะแนนสะสมได้ง่ายขึ้น และยังสามารถนำไปใช้จ่ายในช่องทางต่าง ๆ ของ Rabbit LINE Pay กว่า 6 หมื่นจุดทั่วประเทศ

ธโนบล เซ็นภักดี หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายการตลาดบริษัท Rabbit LINE Pay จำกัด กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นการเตรียมตัวของ LINE ในการสร้าง Ecosystem เพื่อเชื่อมต่อโลกธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับ Rabbit LINE Pay ที่มีแผนจะเชื่อมระบบ E-Wallet ให้สามารถนำ LINE Point ไปใช้งานร่วมได้ ทำให้ LINE Point จะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยบริหารจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้า (Loyalty Program) โดยเฉพาะการนำ LINE Point ไปใช้ตามร้านค้าที่รองรับบริการของ Rabbit LINE Pay

ปัจจุบัน Rabbit LINE Pay มีผู้ลงทะเบียนใช้งานกว่า 6 ล้านบัญชี โดยกว่า 4 ล้านรายได้ผูกบัญชีเข้ากับบัตรเครดิตหรือเดบิต และกว่า 5 ล้านรายใช้งานเป็น E-Wallet ซึ่งถือว่ามีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึง 78% และจำนวนการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 160% ทำให้LINE มองถึงช่องทางในการตอบแทนลูกค้า ด้วยการนำบริการอย่าง LINE Point เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่สามารถใช้งานร่วมกับ Rabbit LINE Pay ได้ ดังนั้นลูกค้าที่มี LINE Point สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของ Rabbit LINE Pay ได้ทันที

ในส่วนของการใช้งาน LINE Point จากเดิมที่ใช้นำไปแลกสติกเกอร์ ธีม หรือสินค้าใน LINE Gitshop ของ LINE แต่หลังจากนี้ในช่วงเดือนสิงหาคมจะสามารถนำไปใช้รวมกับร้านค้าพันธมิตรของ Rabbit LINE Pay กว่า 6 หมื่นร้านค้าได้ โดยมูลค่าของ LINE Point จะเทียบเท่ากับเงิน 1 บาท และมีโอกาสนำไปแลกกับคะแนนสะสมของแบรนด์ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมได้ในอนาคต เช่น ใช้แลกเป็นคะแนน AIS Point หรือ Kbank Point ตามอัตราส่วนที่กำหนด

ฉัตรชัย ดุษฎีโหนด ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี KASIKORN LINE Company Limited ให้ข้อมูลถึงบริการทางการเงินที่ LINE เตรียมเปิดให้บริการในปี 2020 บนพื้นฐานของการที่ LINE เป็น ‘Life On LINE’ ที่สำคัญบริการดังกล่าวจะเกิดขึ้นบนความสะดวกในการเข้าถึงโดยไม่จำเป็นต้องไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร ด้วยการนำความสามารถของระบบ NDID มาร่วมใช้งาน ทำให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที

การให้บริการของ KASIKORN LINE มีแนวคิดที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในแกน FinTech ของ LINE เพิ่มเติมจากที่ปัจจุบันให้บริการ Rabbit LINE Pay เพื่อเป็นช่องทางในการใช้ E-Wallet

LINE Redesign เครื่องมือธุรกิจ-นักการตลาดสู่ Life Marketing Platform

ทุกวันนี้ LINE กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนตลอด 24ชั่วโมง และเป็นเครื่องมือที่ช่วย

ในการสื่อสารที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้มากที่สุดบ่อยที่สุดสร้างการมีส่วนร่วมได้ดีที่สุด ทำให้หลายธุรกิจต้องการเข้ามามีส่วนรวมในการใช้ LINE เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทางการตลาดนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสู่ผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้น

ตามปกติแล้วเมื่อผู้บริโภคใช้งานอยู่กับแพลตฟอร์มใด นักการตลาดก็จะเข้าหาแพลตฟอร์มนั้น ดังนั้นการที่ LINE เป็นแพลตฟอร์มที่คนใช้เวลาด้วยมากที่สุด ทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ยิ่งคนไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับLINE มากเท่าใดภาคธุรกิจยิ่งมีความสนใจต้องการใช้มากเท่านั้น โดยในทางกลับกัน ภาคธุรกิจสมควรต้องควบคุมการสื่อสารผ่าน LINE ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้หน้าที่ฝายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย เสนอแนวคิดใหม่ในการทำตลาดผ่าน LINE หรือ LINE for Business ที่ปัจจุบันมีแบรนด์ร้านค้า องค์กรธุรกิจ รวมถึง SMEs เข้ามาใช้งานกว่า 3 ล้านราย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการส่งข้อมูลที่มากเกินไป (Over broadcasting)

ด้วยเหตุนี้ LINE ประเทศไทยจึงเดินหน้าแผนงาน “Redesign” ที่จะทำให้บริการของ LINE ดียิ่งขึ้น

สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ธุรกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีมากกว่า พร้อมเข้าไปแก้ปัญหา Blind Broadcast ที่ข้อความไม่เข้าถึงผู้ใช้งาน หรือ มีการส่งข้อความสแปมแก่ผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากเกินไป จนลูกค้าเกิดความรำคาญ

“LINE ต้องการทำให้รูปแบบการสื่อสารเป็นไปอย่างสมดุล มีคุณภาพ สามารถสร้าง Effective Communication ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ไม่ถูกคุกคามมากจนเกินไป”

เพื่อให้ในระยะยาวลูกค้า LINE Official Account (LINE OA) ที่มีจำนวนกว่า 3 ล้านราย สามารถนำเสนอ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ไม่มองแค่เรื่องการค้าขายเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า หรือส่งผลเชิงตัวเงินควบคู่กัน

สำหรับราคาการให้บริการ LINE OA ทาง LINE จะมีการปรับใหม่ พิจารณาตามการเข้ามามีส่วนร่วมของ followers รวมถึงจำนวนข้อความที่ส่งโดยเฉลี่ย ในจุดที่เหมาะสมมากที่สุด หลังมีการประกาศรวม LINE@ และ LINE OA ทำให้มีการพิจารณาราคาใหม่ขึ้น จากเดิมที่ลูกค้า LINE OAต้องจ่าย 20 สตางค์ต่อข้อความ ลดลงมาเริ่มต้นเพียง 4 สตางค์ต่อข้อความและยิ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้าถึงผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคน จะลดลงมาเหลือข้อความละ 1 สตางค์โดยราคานี้จะเริ่มใช้งานในช่วงเดือนสิงหาคม

และก่อนหน้านี้ทาง LINE ประเทศไทยก็มี LINE Protection Plan ซึ่งเป็นแผนสำหรับองค์กรใหญ่ซึ่งมีมาตั้งแต่เปิดตัว Redesign เพื่อปกป้องลูกค้าองค์กรจากการเปลี่ยนแปลงให้มีเวลาปรับตัว ซึ่งแผนนี้เดิมหมดปลายปีแต่ตอนนี้ขยายมากขึ้นจนถึงกลางปีหน้า

LINE OA เวอร์ชันใหม่จะเปิดกว้างให้นักพัฒนาสามารถนำ API ของ LINE OA  ไปพัฒนาต่อเนื่องได้ในรูปแบบของ Open API ดังนั้นถ้าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีนักพัฒนาอยู่แล้วก็สามารถดึงไปใช้งานได้ทันที หรือถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ LINE ก็จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเข้ากับบริษัทนักพัฒนาที่ทำงานร่วมกับ LINE ต่อไป

นอกจากนี้ LINE ประเทศไทยยังได้เปิดตัวบริการใหม่ “OA Plus” ที่จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น LINE OA PIus E-Commerce เข้าไปจับมือกับ aCommerce และ Akita มาเป็นโชลูชั่นครบวงจร เพื่อให้การค้าขายบนโลกโซเชียลเป็น

เรื่องที่ง่าย ผู้ค้าสามารถติดตามผลความเคลื่อนไหว คำสั่งซื้อรวมถึงจัดหมวดหมู่ลูกค้าตามสถานะคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์

พร้อมเสริมความแกร่งให้กับธุรกิจด้วย LINE MAN Plug-in ฟีเจอร์ในการนำเอาโลจิสติกส์ของ

LINE MAN เข้ามาเชื่อมต่อกับ OA เพื่อช่วยตอบโจทย์เติมเต็มบริการของธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร เพื่อให้ LINE OA กลายเป็นช่องทางสื่อสารและร้านค้าแบบครบวงจรนอกจากนี้ ยังมีการนำ LINE ไปใช้งานในภาคธุรกิจอื่น เช่น ในภาคการศึกษา (LINE for Education) ภาครัฐ (LINE for Public service) และในรูปแบบของเครื่องมือภายในองค์กร (LINE for Enterprise) เป็นต้น

ส่วนในอนาคต LINE มีแผนที่จะขยายช่องทางในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคสำหรับนักการตลาด ผ่านช่องทางใหม่อย่าง Smart Channel ที่อยู่บนหน้าแชทที่ โดยมีจุดเด่น คือ รองรับวิดีโอคอนเทนต์และโฆษณาทำให้ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้มากขึ้น และเพิ่มความหลากหลายของโฆษณาแบบ Slide ad ใน LINE TODAY

สุดท้าย คือ การเพิ่มหมวดหมู่ของ LINE Idol จากเดิมที่มีเพียงแค่ Celebrity, Blogger ด้วยหมวดหมู่ Business และหมวดหมู่ Sport ซึ่งร่วมมือเพิ่มกับ Mailman Global Sport Agency โดยมี Laliga League จากสเปนมาเพิ่ม นอกเหนือจาก Global OA ที่มีอยู่แล้วอย่าง Manchester United. ทั้งหมดนี้คือเครื่องมือทางการตลาดที่ LNE พัฒนามาเพิ่มเติมเพื่อให้นักการตลาดได้สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีบนแพลตฟอร์ม LINE แนวคิด Redesign ในการเข้าถึงผู้บริโภคให้ยั่งยืนขึ้นผ่านคอนเทนต์และการสื่อสารที่มีคุณภาพมากขึ้น

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา

แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @ajlink ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

Fanpage : Aj Link

ติดตามข่าวสารไอที : www.ajlink.net

ที่มา : today.line, today.line.me, today, line

By Aj.Link

อาจารย์หลิง ณิฌา CEO : inDigital Co.,Ltd.